Cake

WELL COME TO FANG STORY


วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

♥ อำเภอฝาง



เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
ประชากรมีทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขา
อำเภอฝางเป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญในเขตเชียงใหม่ตอนบน
 มีอำเภอบริวารคือ อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ มีประชากรหนาแน่น
เป็นอำเภอที่มีศักยภาพในการรองรับความเจริญจากตัวเมืองเชียงใหม่ในอนาคต
อีกทั้งยังสามารถเดินทางไปจังหวัดเชียงรายได้อย่างสะดวกหลายช่องทาง
ทำให้อำเภอฝางจะได้รับความเจริญจากจังหวัดเชียงราย
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีนในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2552-2553 อำเภอฝาง ได้รับการเสนอเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็น
 จังหวัดฝาง โดยการรวมเอาอำเภอใกล้เคียงเข้าด้วยกันแต่ไม่ผ่านการพิจารณา

♥ วัดถ้ำตำเต่า




อยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่นมีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่ามีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กันภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาวและถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน




♥ เที่ยวสวนส้ม ฝาง


อำเภอฝางเป็นแหล่งปลูกส้มสายน้ำผึ้งที่ใหญ่  และที่นี่เป็นต้นกำเหนิดของส้มพันธ์สายน้ำผึ้ง ส้มสายน้ำผึ้งเป็นส้มพันธุ์ดีมีรสหวาน เปลือกบาง ชานนุ่ม ผลมีสีสวย ด้วยจุดเด่นของส้มสายน้ำผึ้งทำให้ได้รับนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งมีราคาแพง เกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกส้มบริเวณฝางและพื้นที่ใกล้ๆ เคียงได้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นจนกระทั่งส้มเป็นพืชเศรษฐกิจหลังของฝางไปซะแล้ว  ส้มสายน้ำผึ้งจะติดผลดกมากอีกทั้งผลยังมีสีสวย เมื่ออยู่รวมกันในแปลงปลูกทำให้ดูสวยงาม จนในระยะหลังสวนส้มสายน้ำผึ้งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวในความสนใจไปเยี่ยมชม  นักท่องเที่ยวก็ได้มีโอกาสเข้าไปชมสวนส้มกันถึงในสวนจริงๆ ชาวสวนก็ได้ขายผลิตให้นักท่องเที่ยว  แต่ก่อนนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเด็ดส้มทานจากต้นได้เลย แต่มีปัญหาที่ส้มมีกิ่งที่เปราะในบางครั้งนักท่องเที่ยวเด็ดส้มแล้วทำให้กิ่งหักเสียหาย ในระยะหลังจึงไม่อนุญาตให้เด็ดส้มทานจากต้น แต่ก็สามารถชิมได้ที่หน้าสวน หากถูกใจก็ซื้อกลับบ้านได้โดยมีลังกระดาษบรรจุให้อย่างสวยงามเหมาะที่จะหิ้วกลับไปเป็นของฝากก็เหมาะ ซื้อกลับไปทานเองก็ดี  มีหลายสวนที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว


♥ กาดเมืองผี





กาดเมืองผี? ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทรายขาว ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการ 5 กม. ออกจากที่ว่าการอำเภอไชยปราการไปตามถนนโชตนา เข้าเชียงใหม่ ประมาณ 3 กม. เลี้ยวซ้ายข้างโรงเรียนบ้านอ่าย เข้าไปประมาณ 2 กม.
ตำนาน
?กาดเมืองผี? ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า ?กาด? หมายถึง ตลาด ส่วนคำว่าเมืองผี ก็นเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันสืบมาในอดีตกาล โดยอาจจะเห็นว่าป่าตรงนี้มีลักษณะพิศดาลของภูมิประเทศ และเพราะความเร้นลับตามเรื่องราวที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ดินแดนอัศจรรย์แห่งนี้มีมาตั้งแต่ในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่าเป็น ?กาดเมืองผี? ไม่มีผู้ใดทราบประวัติเป็นที่แน่นอนแต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่าน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้นมีชาวบ้านเข้าไปหาของป่าเป็นอาหาร แต่หลงป่าหาทางกลับออกมาไม่ได้จึงเดินไปเรื่อย ๆ จนไปพบเมืองอีกเมืองหนึ่งซึ่งเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายมีตลาด มีการขายสินค้าต่าง ๆ หลากหลายชนิด ชาวบ้านที่เข้าไปด้วยกันนั้นได้ซื้อของติดไม้ติดมือกลับออกมาด้วย โดยมีคนในเมืองนั้นพากลับออกมาจากป่านั้น ทันทีที่คนในเมืองนั้นได้กลับไป ของที่ทุกคนซื้อมานั้นก็กลายเป็นเศษใบไม้ใบหญ้า และกรวดหิน
กระทั่งทุกวันนี้หากวันดีคืนดีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง กาดเมืองผี จะได้ยินเสียงตีระฆัง  ตีฆ้อง  ดังกังวาน ยิ่งหากเป็นวันพระ  หรือคืนวันเพ็ญ  จะได้ยินเสียงร้องโหยหวนดังออกมาจากกาดเมืองผี

♥ บ่อน้ำมันฝาง



ประวัติความเป็นมา
ประมาณร้อยปีเศษที่ผ่านมา ชาวบ้านท้องที่อำเภอ ฝางเขตท้องที่ตำบลแม่สูน พบน้ำมันลักษณะสีดำไหลซึมขึ้นมา บนผิวดิน บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาทาร่างกายเพื่อ รักษาโรคต่างๆ ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่จึงสั่งให้ขุดบ่อ เพื่อกันน้ำมันไว้เรียกกว่า "บ่อหลวง" หรือ "บ่อเจ้าหลวง" ต่อ มาหน่วยราชการหลายฝ่ายสนใจทำการสำรวจและดำเนินงานต่อ กันมาหลายสมัย สรุปได้ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๖๔ กรมรถไฟ โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝางจึงจ้าง นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr Wallace Lee ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๕ พบเพียงร่องรอยก๊าซ ธรรมชาติเจาะลึก ๑๘๕ เมตร ท่อกรุขาดจึงระงับการเจาะพ.ศ. ๒๔๗๗ กรมเชื้อเพลิงทหารบกสำรวจปี พ ศ ๒๔๗๗ ด้วยการจ้างนักธรณีวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ ๒ นาย คือ Dr Arnold Heim และ Dr Hans hirschi ทำการสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ๓ นาย ตรวจสอบธรณีวิทยาผิวดินและขุด บ่อตื้นๆ จึงเลิกล้มไป
พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมหลวงเข้ามาดำเนินการ ม.ล กรี เดชาติวงศ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อกรมทางหลวงในการใช้แทนยางแอสฟัลต์ การสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคน เรียกว่า "เครื่องเจาะบังก้า" เจาะประมาณ ๑๐ - ๒๐ เมตร ผลการสำรวจได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ ๓๘ ล้านลูก บาศก์เมตร และยังใช้เครื่องเจาะลึก ๒๐๐ เมตร อีกหลายหลุมพบน้ำมันในระดับความลึกประมาณ ๗๐ เมตร เรียก หลุมที่พบน้ำมันนี้ว่า "บ่อระเบิด" มีก๊าซธรรมชาติปนอยู่ด้วย สถานที่อยู่ทางบ่อต้นขามเป็นระยะทาง ๕๐๐ เมตร กรมทางหลวงจึงได้สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขึ้น ผลิตน้ำมันได้ ๔๐,๐๐๐ ลิตร ด้วยขาดอุปกรณ์และความ ชำนาญประกอบกับมิใช่หน้าที่ของกรมทางหลวงงานทั้งหมดจึงยุติลง
พ .ศ.๒๔๙๒ กรมโลหะกิจเข้าดำเนินงานในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๙ โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า "หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง" ใช้เครื่องเจาะชนิด Rotary จากประเทศเยอรมันนี เจาะลึกประมาณ ๒๓๐ เมตร บริเวณบ่อต้นขามต่อมาเรียก "แหล่งน้ำมันไชยปราการ" สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขนาดเล็กกลั่นน้ำมันเป็นครั้งคราว ใช้น้ำมันดิบประมาณ ๑,๐๐๐ ลิตร ดำเนินการกลั่นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๒ -๒๔๙๙ การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาบ่อน้ำมันฝางในความควบคุมของกรมโลหะกิจ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ มีความเห็นว่าควรทำการเจาะสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางด้านการกลั่นก็มุ่งในการทำยางแอสฟัลต์

พ.ศ. ๒๔๙๙ กรมการพลังงานทหารรับช่วงงานต่อมาในเดือนมีนาคม ๒๔๙๙ Dr Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลี่ยม ได้มาดูกิจการของหน่วยงานสำรวจน้ำมันฝางรายงานว่าน้ำมันดิบที่อำเภอฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกมาขายได้ เสนอให้สำรวจเพื่อ ตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาด ๑,๐๐๐ บาเรล ถ้ามีปริมาณเพียงพอ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้โอนกิจการน้ำมันฝางขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๙ เป็นวันที่กรมพลังงานทหารตั้งกองสำรวจ และผลิตปิโตรเลี่ยมขึ้นเป็นครั้งแรก และได้ขยายพื้นที่ การสำรวจในลุ่มแอ่งภาคเหนืออีกหลายลุ่มแอ่ง คือ ลุ่มแอ่ง เชียงใหม่ ลุ่มแอ่งลำปาง ลุ่มแอ่งลำพูน ลุ่มแอ่งแพร่ ลุ่มแอ่งเชียงราย และลุ่มแอ่งพะเยา


♥ โป่งน้ำร้อน ฝาง


โป่งน้ำร้อนฝาง
เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่าป่าเบญจพรรณมาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร

♥ ดอยผ้าห่มปก



อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก (แม่ฝาง) มีพื้นที่ประมาณ 327,500 ไร่ ครอบคลุมอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า อันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงามน่าสนใจ คือ ดอยผ้าห่มปก ดอยสูงอันดับสองของประเทศไทย บ่อน้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ ถ้ำห้วยบอน น้ำตกโป่งน้ำดัง น้ำตกตาดหลวง
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งเป็นเทือกเขาผีปันน้ำ ระดับความสูงในเขตอุทยาน แห่งชาติแม่ฝาง ประมาณ 400-2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยผ้าห่มปก (สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ) ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม ดอยอ่างขาง อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.4C มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.7-19.0C ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39.1C และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,183.5 มม.
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนหรือป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ตะเคียน มะไฟป่า ยางประดู่ ตะแบก สัก จำปีป่า มะขามป้อม ฯลฯ ที่สำคัญยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ เทียนหาง และ กุหลาบไฟ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก
ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่าจึงทำให้มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวาง หมี หมูป่า นางอาย นกเขา รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เลียงผา อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสืออิมพิเรียนหรือผีเสือไกเซอร์ และผีเสื้อสมิงเชียงดาวหรือผีเสื้อภูฐาน





♥ โป่งน้ำดัง ฝาง






น้ำตกโป่งน้ำดัง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็กที่สวยงามมีการไหลของน้ำที่สม่ำเสมอ ชั้นบนสุดมีความสูงกว่า 10 เมตร บริเวณน้ำตกมีถ้ำขนาดเล็กๆ พอให้คนเข้าไปนั่งเล่นได้ 3-4 คน เพดานถ้ำมีน้ำหยดตลอดเวลาและเกิดเป็นหินงอกเล็กๆ ไปทั่ว ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มฝ.3 (น้ำตกโป่งน้ำดัง) บ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง ต้องเดินตามเส้นทางเดินป่าไปสู่น้ำตก ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าดิบแล้งที่ร่มครึ้มด้วยไม้ใหญ่ บางช่วงต้องเดินข้ามลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็น

♥ พระเจ้าฝางพระนางสามผิว



พุทธศักราช 2172-2180 พระเจ้าฝางอุดมสิน ทรงพระนามเดิมว่า พระยาเชียงแสน เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองเชียงแสน ได้เสด็จมาทรงปกครองเป็นเจ้าเมืองฝาง ในปี พ.ศ. 2172 ศักราชได้ 990 ตัว เดือน 8 เหนือ แรม 13 ค่ำ พร้อมด้วยพระชายา ซึ่งมีพระนามว่า พระนางสามผิว เป็นพระราชบุตรีของ เจ้าเมืองล้านช้าง (เมืองเวียงจันทน์) ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศว่า พระองค์ทรงมีผิวพระวรกายถึงสามผิว กล่าวคือในตอนเช้าจะมีผิวสีชาวดุจปุยฝ้าย ในตอนบ่ายจะมีผิวสีแดงดั่งลูกตำลึงสุก และในตอนเย็นผิวพระวรกายจะเป็นสีชมพูเรื่อ ประหนึ่งดอกปุณฑริกา
ทั้งสองพระองค์ทรงปกครองเมืองฝางอยู่นั้น เมืองฝางอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของพม่า ทำให้พระเข้าฝางอุดมสินทรงมีพระราชดำริ ที่จะกอบกู้เอกราชเมืองฝางคืนจากพม่า โดยได้ซ่องสุมฝึกซ้อมกำลังพล ตระเตรียมอาวุธและเสบียงกรังไม่ยอมส่งส่วย ทั้งยังฝ่าฝืนและขัดคำสั่งของพม่า จนความทราบถึงเมืองพม่าว่าเมืองฝางคิดจะแข็งเมือง ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น
พระเจ้าภวะมังทาสุทโธธรรมราชา ที่ครองเมืองอังวะ กษัตริย์พม่า จึงได้ยกทัพหลวงมาตีเมืองฝาง ในปีพุทธศักราช 2176 ศักราชได้ 994 ตัว พระเจ้าฝางอุดมสินได้นำทัพเข้าต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างแข็งขัน ทำให้พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา ไม่สามารถเข้าตีเมืองฝางได้ พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา จึงเปลี่ยนแผนการรบใหม่ โดยให้ทหารล้อมเมืองฝางไว้ พร้อมกับตั้งค่ายบัญชาการรบที่เวียงสุทโธ และระดมยิงระบู (ปืนใหญ่) เข้าโจมตีเมืองฝางทำให้บ้านเมืองระส่ำระสาย ประชาชนเสียขวัญ ทหารและประชาชนบาดเจ็บล้มตายลงเป็นอันมากพม่าได้ล้อมเมืองฝางไว้ เป็นเวลานานถึง 3 ปี กับ 6 เดือน ทำให้เสบียงอาหารในเมืองฝางที่เก็บสะสมไว้หมดลง ประชาชนอดอยาก พระเจ้าฝางอุดมสินและพระนางสามผิว คิดว่าพระองค์ท่านเป็นต้นเหตุแห่งความเดือดร้อนในการที่จะกอบกู้บ้านเมือง แต่กระทำการไม่สำเร็จ พระองค์จึงตัดสินพระทัยสละพระชนม์ชีพ เพื่อปกป้องชาวเมืองฝางให้รอดพ้นจากการเข่นฆ่าของทหารพม่า และคามอดอยาก เดือดร้อน ดังนั้นในปีพุทธศักราช 2180 ศักราชได้ 998 ตัว เดือน 6 เหนือ ขึ้น 5 ค่ำ พระเจ้าฝางอุดมสินและพะนางสามผิว จึงสละพระชนม์ชีพ ด้วยการกระโดดลงบ่อซาววา และเป็นเวลาเดียวกันที่ทหารพม่าเข้าตีเมืองฝางได้สำเร็จ เมื่อ พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา ทราบถึงวีรกรรมของทั้งสองพระองค์ท่าน พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา จึงมีคำสั่งห้ามทหารพม่าไม่ให้ทำร้ายประชาชนเมืองฝาง จากนั้นพระองค์จึงได้ยกทัพกลับกรุงอังวะ ประเทศพม่า

♥ ดอยอ่างขาง


เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม.  ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ  สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า  ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร   ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง  แปลงปลูกไม้ในร่ม  แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิล พระตำหนักอ่างขาง